วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ลำรึกถึงเรื่องราวเก่า .มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA









บทความ   เรื่อง  การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการของเทศบาลนครนครป

                        การมีส่วนร่วมถือเป็นหลักการสากลที่อารยประเทศให้ความสำคัญ โดยภาครัฐจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนร่วมรับรู้ ช่วยคิด ร่วมตัดสินใจ เพื่อสร้างความโปร่งใสและเป็นที่ยอมรับของทุก ๆ ฝ่าย International Association for Public Participation (IAP) ได้ให้ความหมายการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้ว่า “เป็นกระบวนการที่นำเอาประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหาร่วมกันหรือกระบวนการตัดสินใจร่วมกัน และใช้ข้อมูลความเห็นของประชาชนเป็นส่วนประกอบในการตัดสินใจ การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานพัฒนา ร่วมคิดร่วมตัดสินใจความชำนาญของประชาชนแก้ไขร่วมกัน การใช้วิทยาการ     ที่เหมาะสม และสนับสนุนติดตามการปฏิบัติงานขององค์การและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
                        โคเฮนและอัฟฮอพ Cohen and Uphoff กล่าวว่า การมีส่วนร่วมหมายถึง การที่สมาชิกของชุมชนต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องใน 4 มิติได้แก่ การมีส่วนร่วมตัดสินใจว่าควรทำอะไร และ         ทำอย่างไร การมีส่วนร่วมเสียสละในการพัฒนา รวมทั้งลงมือปฏิบัติตามที่ได้ตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมในการประเมินโครงการ และได้เสนอขั้นตอนการมีส่วนร่วมได้ 4 ขั้นตอน ได้แก่
                        1.    การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Decision Making)    
                        2.    การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน (Implementation)
                        3.    การมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ (Benefits)
                        4.    การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Evaluation)
                        เทศบาลนครนครปฐม คำนึงถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของเทศบาลให้เกิดประสิทธิภาพ เกิดความสำเร็จทั้งในด้านการเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจ การลดค่าใช้จ่าย และการสูญเสียเวลา การสร้างฉันทามติ การเพิ่มความง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ ทำให้รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของการตัดสินใจนั้น การหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า ความน่าเชื่อถือและความชอบธรรม ความโปร่งใส การมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของบุคคล สนับสนุนการพัฒนาความรักท้องถิ่น และความรับผิดชอบต่อสังคม
                        การบริหารเชิงกลยุทธ์ มีเป้าหมายมุ่งเน้นให้องค์กรกำหนดทิศทาง ภารกิจ กลยุทธ์การดำเนินงานขององค์กรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม พัฒนาปรับปรุง ทุกภาคส่วนขององค์กรให้นำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนติดตาม กำกับ ควบคุม และประเมินผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ที่กำหนด เพื่อเรียนรู้ผลความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค นำไปสู่การปรับปรุง แก้ไขต่อไป โดยประโยชน์ของการบริหารเชิงกลยุทธ์คือ องค์กรปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น การจัดสรรทรัพยากรในองค์กรสอดคล้องและสมเหตุสมผล การปรับตัว การขยายตัวขององค์กรมีกรอบทิศทางที่ชัดเจน กระตุ้นให้บุคลากรมองเห็นโอกาส ภัยคุกคาม จุดแข็ง จุดอ่อน และทิศทางในการดำเนินงา เปิดโอกาสให้บุคลากรมีความคิดใช้ทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
                        1.    การตรวจสอบสภาพแวดล้อม (Environmental Seanning)
                        2.    การจัดทำกลยุทธ์ (Strategy Formulation)
                        3.    การปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Strategy Implementation)
                        4.    การประเมินผลและการควบคุม (Evaluation and Control)
                        การปกครองท้องถิ่นถือว่าเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ เป็นวิธีการปกครองและการบริหารประเทศอย่างใหม่ มีการกระจายอำนาจภารกิจหน้าที่การงาน ที่เป็นภารกิจพื้นฐานจากรัฐบาลกลางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ที่มีความเป็นอิสระในการบริหารงบประมาณและบุคลากร ในการจัดทำบริการสาธารณะให้สอดคล้องและเพียงพอกับความต้องการของประชาชน ภารกิจของเทศบาลนครนครปฐมครอบคลุมต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งหมด ดังนั้นในการดำเนินกิจการของเทศบาลนครนครปฐม จึงจำเป็นจะต้องอาศัย        การมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งหมด ดังนั้นในการดำเนินกิจกรรมของเทศบาลนครนครปฐม             จึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมและการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้การจัดการบริหารสาธารณะ           มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมาย เพื่อการพัฒนาในยุทธศาสตร์การพัฒนา รวมทั้งสอดคล้องกับปัญหา ความต้องการของประชาคมและชุมชน
                        บทบาทและการมีส่วนร่วมของประชาชน

กิจกรรมการมีส่วนร่วม
รูปแบบ / แนวทางการมีส่วนร่วม
ด้านส่งเสริมอาชีพ
1.  กองทุนชุมชนเมือง


-  รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณแก่ชุมชนที่จัดตั้งขึ้นถูกต้องตามกฎหมาย ชุมชนละ 1 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนได้กู้ยืมประกอบอาชีพในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกและประชาชนมีส่วนร่วมโดยการจัดทำประชาคมคัดเลือกบุคคลในชุมชนเป็นคณะกรรมการคนหนึ่ง ทำหน้าที่บริหารจัดการกองทุน โดยกำหนดระเบียบปล่อยเงิน และเรียกเก็บเงินจากสมาชิกตลอดจนบริหารจัดการดอกผลอันเกิดจากเงินกองทุนเป็นผลแก่สมาชิกและอีกส่วนหนึ่งมาทำประโยชน์ส่วนรวม เพื่อชุมชนนั้น ๆ



กิจกรรมการมีส่วนร่วม
รูปแบบ / แนวทางการมีส่วนร่วม
2.  โครงการเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อยกระดับชุมชน (ศพช.)
-  รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณให้หมู่บ้านและชุมชนต่าง ๆ โดยแบ่งชุดชนเป็นขนาดต่าง ๆ  ตามจำนวนประชากรเป็น 7 ขนาด คือ ขนาด 1 – 7 และให้ประชาชนในชุมชนนั้น ๆ มีส่วนร่วมโดยทำประชาคมเลือกคณะกรรมการและร่วมเสนอโครงการโดยใช้หลักประชาธิปไตย คือเสียงข้างมากเป็นมติในการตัดสินโครงการที่ได้รับประโยชน์ร่วมกัน
3.  โครงการไม้ดอกไม้ประดับรับประทานได้
-  เทศบาลสนับสนุนเมล็ดพืชผักส่วนครัว ประเภทพริกขี้หนู มะเขือ กระเพา โหระพา และอื่น ๆ ที่ใช้ปรุงอาหาร ให้แก่ครัวเรือนที่แสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการ โดยแจกครัวเรือนละ 3 ชนิด เป็นการสนับสนุน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว โดยใช้กิจกรรมผักสวนครัวเป็นสื่อ
4.  กิจกรรมส่งเสริมฝึกอาชีพระยะสั้น       
-  เทศบาลสนับสนุนงบประมาณโดยให้สำนักการศึกษาดำเนินการฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นแก่ประชาชนในหลักสูตรต่าง ๆ เช่น ช่างเสริมสวยสตรี คอมพิวเตอร์ นวดผ่าเท้า การทำอาหาร ขนม และการถนอมอาหาร การร้อยลูกปัด การจัดดอกไม้สด การนวดแผนไทย ช่างตัดผมชาย ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า และอื่น ๆ ที่ประชาชนสนใจ
5.  ถนนคนเดิน
-  เทศบาลร่วมกับหอการค้าจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำกิจกรรม “ถนนคนเดินทวาราวดีศรีนครปฐม” ขึ้นที่บริเวณถนนริมคลองเจดีย์บูชา หน้าโรงเรียนเทศบาล 1 วัดพระงาม อ.เมือง จ.นครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ชาวบ้าน ชุมชน บริเวณริมคลองวัดพระงาม ได้ร่วมมือกันนำสินค้าหลากหลายชนิดมาขายในวันเสาร์ วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 16.00 น. – 22.00 น. โดยมีคณะกรรมการชุมชนริมคลองวัดพระงามเป็นแกนหลักในการบริหารจัดการ และประสานงานกับเทศบาลและหอการค้าจังหวัดนครปฐม กิจกรรมดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงผู้ว่างงานจะได้มีงานทำมีรายได้



กิจกรรมการมีส่วนร่วม
รูปแบบ / แนวทางการมีส่วนร่วม
ด้านวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
1.  งานวันสำคัญ (วันพ่อ-วันแม่)


-  เทศบาลสนับสนุนงบประมาณ โดยให้กองสวัสดิการดำเนินการ ประชาชนมีส่วนร่วมโดยช่วยกันคัดเลือกพ่อดีเด่น แม่ดีเด่น แต่ละชุมชน เพื่อรับโล่เกียรติยศจากนายกเทศมนตรี และผู้นำชุมชนพร้อมบุตรหลานของพ่อแม่ ถ้าเด่น ร่วมแสดงความยินดี และรับประทานอาหารร่วมกัน (แม่ดีเด่นชุมชนละ 1 คน พ่อดีเด่นชุมชนละ 1 คน)
2.  งานวันประเพณี ลอยกระทงและสงกรานต์

-  เทศบาลสนับสนุนงบประมาณ และประชาชนมีส่วนร่วม         มีเอกสารเชิญชวนเข้าร่วมงานและแจ้งเชิญประชุม เพื่อปรึกษาหรือการจัดงานประเพณีลอยกระทรงและสงกรานต์ อาทิ ชุมชนในเขต หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดขบวนแห่ลอยกระทงและสงกรานต์
ด้านการบริหารงานร่วมกับ อปท.
1.  จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนชุมชนที่มีคุณภาพ


-  ผู้นำชุมชนทุกชุมชนเข้าร่วมสัมมนา ฯ เรียนรู้กระบวนการจัดทำแผนที่ถูกต้องและรับความรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือนตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (เป็นโครงการเทศบาลทำต่อเนื่องทุกปี เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน)
2.  การประชาคมแผนพัฒนาเทศบาล / แผนยุทธศาสตร์

-  ประชาชนในเขตเทศบาลออกมาร่วมทำประชาคม เพื่อแสดงความคิดเห็นและเสนอปัญหาความต้องการ เพื่อบรรจุในแผนฯ การทำประชาคมได้มีเอกสารแจ้งล่วงหน้า 1 สัปดาห์ และประชาคมเขตละ 1 ครั้ง
3.    เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ / เอดส์ / เบี้ยความพิการ
ผู้สูงอายุ : เทศบาลตั้งงบประมาณเอง จำนวน 81 ราย รับการสนับสนุนจากจังหวัดจำนวน 29 ราย การขึ้นทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ประชาชน    มีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์ในชุมชนของตนเอง โดยช่วยแจกเอกสารถึงทุกครัวเรือนและช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุที่มาขึ้นทะเบียนในชุมชนต่างๆ ที่เทศบาลออกไปบริการรับจดทะเบียนในชุมชนต่าง ๆ ที่เทศบาลออกไปบริการรับจดทะเบียนในชุมชน จำนวน 7,910 ราย มีคุณสมบัติครบถ้วนทุกราย



กิจกรรมการมีส่วนร่วม
รูปแบบ / แนวทางการมีส่วนร่วม

อดส์          เทศบาลตั้งงบประมาณเอง จำนวน 46 ราย
                    รับการสนับสนุนจังหวัด 1 ราย
คนพิการ   - รับการสนับสนุนจากจังหวัด 9 ราย
                    - การขึ้นทะเบียนรับเบี้ยความพิการ ตามนโยบาย
                       ของรัฐบาล จำนวน 804 ราย
4.  สายตรวจชุมชน (ตามโครงการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในชุมชน)
-  เทศบาลตั้งงบประมาณเป็นค่าตอบแทน คณะกรรมการชุมชนช่วยกันคัดเลือกผู้ที่เห็นสมควรเข้ามาเป็นสายตรวจ เพื่อทำหน้าที่ลาดตะเวนระแวดระวังและประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติงานระหว่างเวลา 20.00 น. – 04.00 น.
5.  เจ้าหน้าที่รักษาสิ่งแวดล้อมชุมชน (ตามโครงการชุมชนน่าอยู่อาศัย ไม้ดอกไม้ประดับงามตา ปวงประชารู้รักสามัคคี)
-  ตัวแทนตั้งงบประมาณเป็นค่าตอบแทนคณะกรรมการชุมชน คัดเลือกคนในชุมชนมาทำหน้าที่รักษาความสะอาดในชุมชน เป็นการกระจายรายได้และสร้างความสามัคคีในชุมชน
6.  ตัวแทนชุมชนในเขตเทศบาลร่วมทำหน้าที่จดหน่วยอ่านมาตรวัดน้ำประปา เก็บค่าน้ำประปาและเก็บค่าธรรมเนียม เก็บขน ขยะมูลฝอย
-  ตัวแทนชุมชนในเขตเทศบาลร่วมทำหน้าที่จดหน่วย             อ่านมาตรวัดน้ำจากมิเตอร์ผู้ใช้น้ำประปา โดยได้รับค่าตอบแทน รายละ 5 บาทต่อผู้ใช้น้ำ 1 ราย
-  ตัวแทนชุมชนในเขตเทศบาลร่วมทำหน้าที่เก็บเงินค่าน้ำประปา โดยได้รับค่าตอบแทนรายละ 5 บาท ต่อผู้ใช้น้ำ 1 ราย
-  ตัวแทนชุมชนในเขตเทศบาลร่วมทำหน้าที่เก็บเงินค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอยในเขตเทศบาล โดยได้รับค่าตอบแทน 5 บาท ต่อใบเสร็จ 1 ฉบับ
7.  ผู้นำการออกกำลังกายชุมชน
-  เทศบาลให้ชุมชนคัดเลือกผู้ที่เห็นสมควรเป็นผู้นำออกกำลังกาย สำหรับการออกกำลังกายกลางแจ้งแบบแอโรบิค และจ่ายเงินสนับสนุนแก่ผู้นำเหล่านั้น
8.  อบรมผู้แทนชุมชน 75 ชุมชน
-  เทศบาลสนับสนุนงบประมาณ โดยให้กองส่งเสริมวัฒนธรรมฯ จัดอบรมผู้แทนชุมชน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้และการดูแลเครื่องออกกำลังกาย



กิจกรรมการมีส่วนร่วม
รูปแบบ / แนวทางการมีส่วนร่วม
ด้านการศึกษา
1.  เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

-  โดยมีอำนาจหน้าที่ ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยมีหน้าที่กำกับและส่งเสริม สนับสนุนกิจการสถานศึกษา
2.  เป็นคณะกรรมการจัดทำกรอบหลักสูตรท้องถิ่น
-  มีหน้าที่ ศึกษา วิเคราะห์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของรัฐบาล เทศบาล ข้อมูลสารสนเทศของท้องถิ่น ปัญหาและสิ่งที่ควรพัฒนาและจุดเน้นการศึกษา และจัดทำกรอบหลักสูตรท้องถิ่น สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครปฐม
3.  เป็นคณะกรรมการมูลนิธิการศึกษา
-  มีหน้าที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิด้านการจัดการศึกษา
4.  เป็นวิทยากรในการจัดการเรียนการสอน
-  เป็นวิทยากรเรื่องอาหาร – ขนม, ความปลอดภัย, การปฐมพยาบาล, การเรียนการสอนภูมิปัญญาชาวบ้าน ฯลฯ
5.  เป็นคณะกรรมการร่วมในการจัดซื้อจัดจ้าง
-  มีหน้าที่ดำเนินการตรวจรับพัสดุ ตามระเบียบกระทรวง มหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุงานย่อย การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 27 (6)
6.  เป็นคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็ก
-  มีหน้าที่กำกับดูแลการบริหารงานของศูนย์
7.  การจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ
-  เป็นนโยบายของรัฐบาล ให้องค์กรของรัฐทุกภาคส่วนร่วมจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ เป็นประจำทุกปี โดยเชิญชวนภาครัฐ และภาคเอกชนร่วมจัดกิจกรรมให้กับเด็ก และเยาวชนที่มาร่วมงานได้รับความสนุกสนาน และได้รับของแลกโดยทั่วกัน


กฎหมายระเบียบที่มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเทศบาล
                        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น
                        “มาตรา 283 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีอำนาจหน้าที่โดยทั่วไปในการดูแลและจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น และย่อมมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย  การบริหาร การจัดการสาธารณะ การบริหารบุคคล การเงินและการคลัง และมีอำนาจหน้าที่ของตนเอง โดยเฉพาะโดยต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับการพัฒนาของจังหวัดและประเทศเป็นส่วนรวมด้วย”
                        “มาตรา 287 ประชาชนในท้องถิ่นมิสิทธิมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดให้มีวิธีการที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมดังกล่าวได้ด้วย
                        ในกรณีที่การกระทาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่นในสาระสำคัญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องแจ้งข้อมูลรายละเอียดให้ประชาชนทราบก่อนกระทาการเป็นเวลาพอสมควร และในกรณีที่เห็นสมควรหรือได้รับการร้องเรียน การร้องขอจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น          ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นก่อนการกระทานั้น หรืออาจจัดให้ประชาชนออกเสียงประชามติเพื่อตัดสินใจก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
                        องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องรายงานการดาเนินงานต่อประชาชนในเรื่องการจัดทางบประมาณ การใช้จ่ายและผลการดาเนินงานในรอบปี เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและกากับการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                        มาตรา 289 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีหน้าที่บำรุงรักษา ศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
                        มาตรา 290 เพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ
                        กฎหมายตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
                        (1)  การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในเขตพื้นที่
                        (2)  การเข้าไปมีส่วนในการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกเขตพื้นที่เฉพาะในกรณีที่อาจมีผลกระทบต่อการ ดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ของตน
                        (3)  การมีส่วนร่วมในการพิจารณาเพื่อริเริ่มโครงการหรือกิจกรรม ใดนอกเขตพื้นที่ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือ สุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่
                        (4)  การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น
                        เทศบาลนครนครปฐม ในฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ที่ประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางในการพัฒนา เพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบาย การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นของรัฐบาลและต้องสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมาย เพื่อการพัฒนาในยุทธศาสตร์การพัฒนา ในยุทธศาสตร์การพัฒนา รวมทั้งสอดคล้องกับปัญหา ความต้องการของประชาคมและชุมชน
                        วิสัยทัศน์เทศบาลนครนครปฐม
                         จัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน อาหารปลอดภัย ให้บริการสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง มุ่งสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่
                        เทศบาลนครนครปฐม ได้ยึดประเด็นยุทธศาสตร์ (Strateqie Issue) หรือประเด็นหลักในการพัฒนาโดยยึดเอาวัตถุประสงค์ หรือเป้าประสงค์เป็นแนวทางไปตามแผนยุทธ์ศาสตร์รูปแบบใหม่ ดังนี้
                        1.    มีการวางแผนและจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นไปสู่ความสมดุล และยั่งยืน ในระยะยาว รวมทั้งผลักดันยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดผลในทางปฏิบัติ และมีระบบติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
                        2.    ให้บริการข้อมูลข่าวสารและสร้างความรู้ความเข้าใจกับสาธารณะเกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่น และการดำเนินงานตามนโยบายของยายกเทศมนตรีนครนครปฐม โดยทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมในการอธิบายนโยบายของนายกเทศมนตรีนครนครปฐม และการพัฒนาท้องถิ่นในระยะยาว
                        3.    พัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ และปรับปรุงการบริหารองค์กรให้          สอดรับกับภาระหน้าที่ใหม่ มีประสิทธิภาพสูง และเป็นหน่วยงานที่เป็นภาคภูมิในของท้องถิ่น
                        ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารและพัฒนาองค์กร
                        1.    ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการท้องถิ่น
                        2.    พัฒนาการบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม ประหยัดและ เกิดความคุ้มค่า
                        3.    พัฒนาบุคลากร โดยให้มีการอบรมอย่างต่อเนื่อง
                        4.    พัฒนา ปรับปรุง เครื่องมือเครื่องใช้ อาคารสถานที่ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานและการบริการประชาชน
                        5.    ปรับปรุงและพัฒนารายได้อย่างทั่วถึงถูกต้อง และเป็นธรรม
                        6.    สนับสนุนการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ งานพระราชพิธี งานรัฐพิธี และงานวันสำคัญทางศาสนาต่าง ๆ

                                                                                   


ดร.สมัย เหมมั่น ฝากผลงานวิชาการ

มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA

 มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม
คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA

จังหวัดนครปฐม

       การศึกษาที่ ใส่ใจใส่ความรู้สึกใส่สามัญสำนึก จนเกิดนวัตกรรม การเรียนรู้เกิดองค์ความรู้ใหม่ เสริมสร้างองค์กรให้เข็มแข็งให้ธุรกิจยั่งยื่นอยู่รอดในวงธุรกิจ
       
        คณะมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่  จังหวัดนครปฐมขอขอบคุณครูทุกท่านที่สร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีตลอดมา

<><><><><><><><><><><><><><><><><><><><><><>
<>
<><><><><><><><><><><><><><><><><><><><><><>

© 2011 office of the National Research Council of Thailand. All rights reserved.







  1. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

    คาดหวังที่จะเติมเต็ม
     ในสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารจะต้องมีศักยภาพที่จะรังสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และพึ่งตนเองได้ ศักยภาพหนึ่งที่ผู้บริหารการศึกษาพึงมีคือต้องเป็นผู้แสวงหาความรู้ รู้จักคัดกรองข้อมูลข่าวสาร รู้จักการนำทฤษฎีที่เหมาะสมเพื่อสังเคราะห์และ บูรณาการ กับองค์ประกอบหลักอื่นๆของสังคมเช่นความเชื่อในเรื่องประชาธิปไตย ความเสมอภาคและ
    วัฒนธรรมฯลฯ จนได้แนวทางสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมสำหรับสังคมไทย การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาไทยเป็นเรื่องที่ท้าทายผู้บริหารการศึกษา การเรียนรู้การค้นคว้าและวิจัยรวมทั้งกระบวนการนำผลการวิจัยไปสู่วิธีปฏิบัติเป็นหน้าที่หลักที่นักการศึกษาต้องกล้าทำและดำเนินการให้ทันเวลาเพื่ออนาคตประเทศชาติ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ คาดหวังที่จะเติมเต็มศักยภาพให้แก่ผู้บริหารการศึกษาทั้งหลายของไทย
  2. การศึกษาที่สร้างนวัตกรรมชีวิต












  3. มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA


    มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA

    การศึกษาที่สร้างนวัตกรรมชีวต



  4. ปรัชญา
              การเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักใฝ่รู้ ซื่อสัตย์ ขยัน เที่ยงธรรม และมีคุณธรรมในการปฏิบัติงาน ย่อมเป็นผู้ที่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

    การศึกษาที่สร้างนวัตกรรมชีวิต


    มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA

มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA




พันธกิจ  

      1)  จัดและบริหารการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยเน้นคุณภาพตามมาตรฐาน กระทรวงศึกษาธิการและสากล 
      2)  ส่งเสริมการวิจัยพื้นฐาน และงานวิจัยประยุกต์โดยให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาของท้องถิ่น 
      3)  ให้บริการวิชาการเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนและท้องถิ่นในภาคเหนือ 
      4)  ส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ศาสนา อนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
      5)  พัฒนาองค์กรและสาขาวิชาให้เป็นองค์แห่งการเรียนรู้ สำหรับ มหาวิทยาลัยและชุมชน วิสัยทัศน์ เป็นหน่วยงานบริหารจัดการและควบคุมดูแลมาตรฐานการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้สำเร็จการศึกษามีจริยธรรม มีความรู้คู่คุณธรรม มีความเข้มแข็งทางวิชาการ มีความสามารถในการวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่สร้างนวัตกรรมทางปัญญา ตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
 


  1. ปณิธาน

              บัณฑิตวิทยาลัยได้ยึดปณิธานในการดําเนินงานของมหาวิทยาลัย ในการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย โดยยึดมั่นในความซื่อตรง ขยัน เที่ยงธรรม มุ่รับใช้สังคมชียงใหม่และสังคมไทย ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัว ภายใต้เงื่อนไขคุณธรรม หลักวิชาความรู้ เพื่อนำไปสู่ความสมดุล พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง


  2. North-Chiang Mai University (NCU)
    ก่อตั้ง : พ.ศ. 2542
    ต้นไม้ประจำสถาบัน : ต้นชัยพฤกษ์
    สีประจำสถาบัน : สีชมพู-เหลือง
    จำนวนคณะ : 5 คณะ
    จำนวนนักศึกษา : ประมาณ 1,826 คน
    อัตราค่าเล่าเรียน : หน่วยกิตละ 500-1,500 บาท
    ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ : 169 หมู่ 3 ตำบลหนองแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 0 5381 9999
    เว็บไซต์ : www.northcm.ac.th
    ประวัติ
    มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 ด้วยแรงบันดาลใจของอาจารย์ ณรงค์ ชวสินธุ์ เพื่อที่จะทดแทนแผ่นดินเกิดด้วยการก่อตั้งสถานศึกษา โดยตั้งใจให้เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดหลักสูตร สาขาการจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce Management) ระดับปริญญาตรีในคณะบริหารธุรกิจ
    มหาวิทยาลัยมีเป้าหมายเพื่อมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่สังคม ทั้งยังให้ความสำคัญต่อการปพื้นฐานและสร้างสำนึกให้บัณฑิตมีความพร้อมและใฝ่ใจในการริเริ่มตลอดเป็นเจ้าของกิจการของตนเอง เพื่อพัฒนาท้องถิ่น สังคมและประเทศชาติ ซึ่งบัณฑิตจะต้องเป็นผู้รู้จริง ทำจริง เก่งในด้านเทคโนโลยี ภาษาดี มีมนุษยสัมพันธ์ ร่วมงานกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีภาวะผู้นำและศีลธรรมจรรยา
    สัญลักษณ์
    มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ใช้เครื่องหมายเป็นวงกลมซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นอาร์มภายในมีรูปลูกดิ่ง และช่อชัยพฤกษ์อยู่ด้านล่างอาร์ม ถัดจากนั้นเป็นวงกลมชั้นที่ 2 โดยภายในวงกลมเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย
    "ช่อชัยพฤกษ์" หมายถึง ความดีและปณิธานของผู้รับใบอนุญาตในความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ที่จะทำให้สถาบันแห่งนี้เป็นสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ สามารถประสาทวิชาความรู้และปลูกฝังทัศนคติอันพึงปรารถนา พัฒนาทักษะและศักยภาพของเยาวชนไทยให้เป็นพลเมืองดี
    "ลูกดิ่ง" หมายถึง ความมั่นคง ความแน่วแน่ หนักแน่น มีความมั่นคงในวิชาชีพของตน ความมีจุดยืนและยึดมั่นในหลักการแห่งตน เป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญาและศาสตร์ทั้งปวงแห่งความเป็นสากล
    อาร์ม หมายถึงจิตวิญญาณซึ่งสามารถถ่ายทอดความรู้และเป็นแหล่งวิชาการที่ผลิตองค์ความรู้ไปสู่ภูมิภาคได้ อีกทั้งยังหมายถึงพลังแห่งความก้าวหน้าทางวิทยาการ
    ส่วนสีประจำมหาวิทยาลัยนั้นใช้ "สีชมพู-เหลือง" สีชมพู สื่อความหมายถึงความสดใส ความสดชื่น และเป็นสีประจำวันพระราชสมภพของสมเด็จพระปิยมหาราชอีกด้วย ส่วนสีเหลือง หมายถึงความสว่างนำทางสู่เป้าหมายที่สูงสุดของชีวิต และเป็นสีประจำวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
    มีอะไรเรียนบ้าง
    1. คณะวิศวกรรมศาสตร์
    หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
    - วิศวกรรมไฟฟ้า
    - วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    - วิศวกรรมอุตสาหการ
    - วิศวกรรมเครื่องกล
    - วิศวกรรมซอฟต์แวร์
    หลักสูตรเทคโนโลยีศาสตรบัณฑิต
    - เทคโนโลยียานยนต์
    - เทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
    - เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
    - เทคโนโลยีการจัดการพลังงาน
    2. คณะบริหารธุรกิจ
    หลักสูตรบริหารธุรกิจ
    - การบัญชี
    หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
    - คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
    - การจัดการ
    - การจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
    - การตลาด
    - การจัดการการท่องเที่ยวและการบริการ
    3. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
    หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
    - รัฐประศาสนศาสตร์
    4. คณะนิติศาสตร์
    หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
    5. บัณฑิตวิทยาลัย



กิจกรรมเสริมหลักสูตร


ด้านบริการวิชาการ


  • สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การพัฒนาทุนมนุษย์"
โดย..ดร.จิระ หงส์รดารมภ์
 ณ ห้อง สายชล โรงแรมริเวอร์


เชิญคลิ๊กดูค่ะ




  • สัมมนาเรื่อง                                              "การพัฒนาวิสัยทัศน์ของผู้นำเพื่อการแข่งขันที่ยั่งยืน"     โดย..ศ.ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฐ์                            ณ วีรันดา รีสอร์ท แอนด์ สปา หัวหิน








             มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA







ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม




                   ทัศนศึกษาดูงาน / ตอบแทนสังคม


    มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
    North-Chiang Mai University
    N northcm2.gif
    ประเภทเอกชน
    ที่ตั้งมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
    ตำบลหนองแก๋ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
    เว็บไซต์http://www.northcm.ac.th/

    สวัสดีปีใหม่ 2555


    www.northcm.ac.th/web/th/
    เชียงใหม่ มหาวิทยาลัย นอร์ท นอร์ท-เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนอร์ท ...

    North - Chiang Mai University


    www.offpres.northcm.ac.th/hr/apply/apply.php
    มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ อำเภอหางดง ...

    ฝ่ายการเจ้าหน้าที่ ...


    www.northcm.ac.th/web/intro.html
    เข้าสู่หน้าหลักเว็บไซต์ > · n.

    มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่


    www.eng.northcm.ac.th/index_dad.html
    Content on this page requires a newer version of Adobe Flash ...

    คณะวิศวกรรมศาสตร์ ...


    www.grad.northcm.ac.th/
    มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ...........รับสมัครนักศีกษาระดับบัณฑิต ...

    บัณฑิตวิทยาลัย ...


    www.qa.northcm.ac.th/
    ยินดีต้อนรับ สู่ ..... สำนักประกันคุณภาพการศึกษา ...

    สำนักประกันคุณภาพการศึกษา ...







  • มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ - วิกิพีเดีย

    th.wikipedia.org/wiki/มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ - แคชใกล้เคียง
    มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ (อังกฤษ: North-Chiang Mai University) เป็นสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 ใช้ชื่อว่า "วิทยาลัยนอร์ท- เชียงใหม่" ...









    มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA


    มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA

    สวัสดีปีใหม่ 2555


    www.northcm.ac.th/web/th/
    เชียงใหม่ มหาวิทยาลัย นอร์ท นอร์ท-เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนอร์ท ...

    North - Chiang Mai University


    www.offpres.northcm.ac.th/hr/apply/apply.php
    มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ อำเภอหางดง ...

    ฝ่ายการเจ้าหน้าที่ ...


    www.northcm.ac.th/web/intro.html
    เข้าสู่หน้าหลักเว็บไซต์ > · n.

    มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่


    www.eng.northcm.ac.th/index_dad.html
    Content on this page requires a newer version of Adobe Flash ...

    คณะวิศวกรรมศาสตร์ ...


    www.grad.northcm.ac.th/
    มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ...........รับสมัครนักศีกษาระดับบัณฑิต ...

    บัณฑิตวิทยาลัย ...


    www.qa.northcm.ac.th/
    ยินดีต้อนรับ สู่ ..... สำนักประกันคุณภาพการศึกษา ...

    สำนักประกันคุณภาพการศึกษา ...

  • มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ - วิกิพีเดีย

    th.wikipedia.org/wiki/มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ - แคชใกล้เคียง
    มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ (อังกฤษ: North-Chiang Mai University) เป็นสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 ใช้ชื่อว่า "วิทยาลัยนอร์ท- เชียงใหม่" ...






    มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA
  • ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น